รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยการดำเนินโครงการประกันภัยนาข้าว ปีการผลิต 66 ว่า ปีนี้เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าจะไม่มีการทำโครงการประกันภัยนาข้าว เนื่องจากติดขัดปัญหาด้านงบประมาณ ไม่สามารถหาเงินมาทำโครงการได้ หลังจากที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้เสนอเรื่องของบประมาณไป 2,000 ล้านบาทแล้ว แต่สำนักงบประมาณไม่เห็นด้วย เนื่องจากมองว่าเป็นช่วงคาบเกี่ยวหลังรัฐบาลยุบสภา อาจเข้าข่ายการใช้งบประมาณเพื่อหาเสียง อีกทั้งต้องขอความเห็นจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อีก ส่งผลให้ชาวนากว่า 3.5 ล้านครัวเรือน ต้องเผชิญความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนสภาพภูมิอากาศในการปลูกข้าวเพียงลำพัง โดยเฉพาะในปีนี้คาดจะเกิดภัยแล้งรุนแรงกว่าปกติ จากปรากฏการณ์เอลนีโญที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก
“ปกติโครงการประกันภัยนาข้าวจะเริ่มเดือน พ.ค. แต่ปีนี้จะไม่เกิดขึ้นแล้ว ทั้งที่ประกันภัยนาข้าว ถือเป็นโครงการปกติที่ทำกันมาต่อเนื่องทุกปี อีกทั้งที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ตั้งแต่เมื่อ 20 มี.ค. 66 ก่อนจะยุบสภาไปแล้ว แต่พอกระทรวงการคลัง นำเสนอเข้า ครม.เพื่อขอใช้งบประมาณมาดำเนินการตามปกติ ก็ถูกโต้แย้งกลับมา”คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
สำหรับโครงการประกันภัยนาข้าว ปกติจะต้องมีการขออนุมัติงบประมาณจาก ครม. ทั้งในส่วนของการขอใช้กรอบวงเงิน ตามมาตรา 28 ของพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง รวมถึงการของบประมาณกลางมาใช้ โดยมีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นหน่วยงานหลักดำเนินการ ซึ่งปี 65 ที่ผ่านมาใช้เงินไป 1,925.07 ล้านบาท มีเป้าหมายช่วยให้เกษตรกรมีเครื่องมือจัดการความเสี่ยงด้านภัยพิบัติผ่านระบบการประกันภัย และเป็นการต่อยอดความช่วยเหลือของภาครัฐในการรองรับต้นทุนการเพาะปลูกข้าวให้กับเกษตรกรเมื่อประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ
ส่วนความคุ้มครอง จะครอบคลุมภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาดและภัยพิบัติธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่ น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง ลูกเห็บ ไฟไหม้ ช้างป่า โดยการทำประกันภัยแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกแบบภาคบังคับให้วงเงินคุ้มครองภัยธรรมชาติ 1,190 บาทต่อไร่ และภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด 595 บาทต่อไร่ ส่วนภาคสมัครใจ ให้วงเงินคุ้มครองภัยธรรมชาติ 240 บาทต่อไร่ และภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด 120 บาทต่อไร่คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“คลังได้นำเสนอโครงการไปตามระยะเวลาปกติ ไม่ได้ทำล่าช้า แต่กลับโดนท้วงติงโดยระบุว่า หากเสนอเข้า ครม.ไปแล้ว กลัวจะถูกกล่าวหาว่าเป็นการของบมาใช้หาเสียงเลือกตั้ง และขอให้รอรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาทำ แต่ก็รอให้ขนาดไม่ได้ เพราะชาวนาเริ่มปลูกข้าวตั้งแต่เดือน มิ.ย.นี้ไปแล้ว ซึ่งเป็นห่วงว่าหากเกิดภัยแล้งรุนแรงขึ้นมาชาวนาจะเดือดร้อน ส่วนโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีนี้ ยังคงเดินหน้าได้ปกติ เพราะสามารถผ่านโครงการได้ทัน”