กระแส “ก้าวไกล” ถือว่ามาแรงสุดในการเลือกตั้ง 2566 ที่ผ่านมา เขย่าสถิติคะแนนนำมาอันดับ 1 ด้วย 14 ล้านเสียง กลายเป็นพรรคอันดับ 1 จัดตั้งรัฐบาล ด้วยจำนวน สส.ในสภา 151 ที่นั่งทันที
ทำไม? ก้าวไกล จึงมาแรงเป็นอันดับ 1 ในตอนนั้น อาจะเป็นเพราะหลายนโยบายโดนใจหลายคน โดยเฉพาะกลุ่มคนหัวก้าวหน้า ที่สำคัญตัวผู้สมัครของพรรคเอง ยังเป็นคนรุ่นใหม่ และนักการเมืองหน้าใหม่ ที่วิ่งเข้าสู้สนามการเมืองไทย
ข่าวดังข้ามปี 2566 : คดีใหญ่ “กำนันนก” สะเทือนแวดวงสีกากี แรงเกินรับไหว!
ข่าวดังข้ามปี 2566 : สุดอาลัย ดาวดับลับฟ้า ดาราเสียชีวิต ปี 2566
นี่จึงเป็นความหวังของคนไทย ที่อยากหลุดพ้น จากกลุ่มอำนาจของรัฐบาลเดิมในขณะนั้น เกิดกระแส “ด้อมส้ม” ทั่วแผ่นดิน เราจะย้อนดูเหตุการณ์ทั้งหมดของพรรคก้าวไกลในปี 2566
พ้นการเลือกตั้งเพียงไม่กี่วัน ก้าวไกล เดินหน้าจับมือหาแนวร่วมตั้งรัฐบาล 17 พฤษภาคม 2566 พรรคก้าวไกล ได้ทำการหารือเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลกับอีก 5 พรรคการเมือง อย่าง พรรคเพื่อไทย พรรคประชาชาติ พรรคเสรีรวมไทย พรรคไทยสร้างไทย และพรรคเป็นธรรม ที่ร้านอาหารย่านถนนสุโขทัย โดยมีภาพยืนจับมือไขว้กัน ก่อนที่จะมีการดีล พรรคเพื่อไทรวมพลัง และพรรคพลังสังคมใหม่ เพิ่มเข้ามาทีหลัง และในวันถัดมา ที่โรงแรม ดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพ มีการแถลงจัดตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยของ 8 พรรคร่วมรัฐ โดยมีจำนวนผู้แทนราษฎรรวมกันทั้งสิ้น 313 คน รวมไปถึงจะมีการจัดทำข้อตกลงร่วม (MOU) ในการจัดตั้งรัฐบาลเพื่อแสดงถึงแนวทางการทำงานร่วมกัน และวาระร่วมของทุกพรรค เพื่อแก้ไขวิกฤตการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ โดยจะแถลงต่อสาธารณะในวันที่ 22 พฤษภาคม
ต่อมาในวันที่ 19 พฤษภาคม 2566 พรรคก้าวไกล ได้ออกมาประกาศว่าได้จับมือกับอีกสองพรรคและได้จำนวน ส.ส.เพิ่ม 3 คน โดยได้ดีลกับพรรคชาติพัฒนากล้าและพรรคใหม่ การดีลครั้งนี้ส่งผลให้ประชาชนที่โหวตพรรคก้าวไกลไม่พอใจ จนร่วมกันปั่นแฮชแท็กในทวิตเตอร์ #มีกรณ์ไม่มีกู และได้ทำการแท็กหาแกนนำพรรคหลายๆ คน ทำให้มีสมาชิกพรรคหลายคนออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยในการดึงพรรคชาติพัฒนากล้าเข้าร่วมการจัดตั้งรัฐบาล มีข้อวิจารณ์ว่าการกระทำในครั้งนี้นั้นสมาชิกพรรคหลายคนไม่ได้รับรู้ ในคืนนั้นเองพรรคจึงได้ประกาศขอโทษและยกเลิกดีล พร้อมยืนยันรับฟังเสียงของประชาชน ก่อนที่ภายหลังถัดมาพรรคใหม่ได้ถอนตัวออกจากพรรคร่วมรัฐบาลเช่นกัน
ต่อมาเกิดประเด็นรัฐบาลแห่งชาติ เนื่องจาก นายจเด็จ อินสว่าง สมาชิกวุฒิสภา ออกมาแสดงความเห็นว่า มีแนวคิดอยากให้ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ โดยฝั่งของพรรคก้าวไกลได้ออกมาตอบเกี่ยวกับประเด็นนี้ โดยมีนายรังสิมันต์ ออกมาบอกว่า จะมีรัฐบาลแห่งชาติทำไม ในเมื่อตอนนี้การเมืองไม่ได้อยู่ในสภาวะที่วิกฤติ สามารถเดินหน้าจัดตั้งรัฐบาลตามที่ประชาชนได้ไว้ใจให้คะแนนเสียง และหากมีการทำตามข้อเสนอของนายจเด็จ คิดว่าประชาชนเองคงไม่ยอมรับ ด้านนายชัยธวัช ก็มองว่าเรื่องการตั้งรัฐบาลแห่งชาติถือเป็นสิทธิ์ของ ส.ว. แต่พรรคก้าวไกลเองมองว่าไม่ใช่ทางออกที่ดี ส่วนด้านนายพิธา มองว่า 8 พรรคร่วมรัฐบาลที่จับมือกัน นั้นมาจากเสียงของประชาชนจึงต้องเคารพเสียงประชาชน
ก้าวสะดุดแรกของพรรคก้าวไกล เริ่มขึ้นหลังนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในขณะนั้นเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี มีเรื่องการถือหุ้นสื่อ ITV เข้ามา
โดยทาง กกต. ได้เชิญผู้ร้องให้ตรวจสอบกรณีหุ้น ITV มายื่นคำร้องเพิ่มเติม ในวันที่ 6 มินถุนายน 2566 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้ออกมาแสดงความมั่นใจในหลักฐานของตนเอง และบอกว่ากรณีดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบกับการจัดตั้งรัฐบาล
ก่อนการประชุมร่วมกันของรัฐสภา พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีไม่กี่วัน วันที่ 9 กรกฎาคม 2566 คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของสำนักงาน กกต. กรณีนายพิธา ถือครองหุ้นไอทีวี ได้สรุปข้อเท็จจริง รวมถึงพยานหลักฐาน และข้อกฎหมายเสร็จสิ้น
ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 พรรคก้าวไกล ได้ส่งหนังสือด่วนไปยัง สำนักงาน กกต. เพื่อคัดค้านการที่ กกต.จะส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้วินิจฉัยกรณีหุ้นสื่อหรือหุ้นไอทีวีของนายพิธา เนื่องจากเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนตามระเบียบกกต. ระบุไว้เอง และเห็นว่ามีความเร่งรัดเกินกว่าเหตุ
ต่อมาวันที่ 11-12 กรกฎาคม 2566 ที่ประชุม กกต. พิจารณารายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ข้อเท็จจริง กรณีนายพิธา ถือครองหุ้นไอทีวี อันเป็นลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มาตรา 82 วรรคสี่ หรือไม่ โดยพิจารณาติดต่อกันเป็นเวลา 2 วัน และในวันเดียวกันที่ประชุม กกต. เห็นว่าสถานะภาพของนายพิธา มีเหตุสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) จึงให้ส่งเรื่องไปยัง ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย
วันที่ 17 กรกฎาคม 2566 เอกสารนัดประชุมศาลรัฐธรรมนูญหลุด แจ้งวาระการประชุมพิจารณาเรื่อง กกต.ขอให้วินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ว่า สมาชิกภาพของนายพิธา สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่ โดยนัดหมายในวันที่ 19กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันเดียวกับการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 2
ก้าวสะดุดที่ 2 พรรคก้าวไกลต้องเผชิญ คือการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี
วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 ของประเทศไทย ตามมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร โดยนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถูกเสนอชื่อเป็นบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เพียงคนเดียว ก่อนที่ผลมติโหวตทั้งหมด เห็นชอบ 324 เสียง ไม่เห็นชอบ 182 เสียง และงดออกเสียง 199 เสียง เท่ากับมติที่ประชุมรัฐสภายังไม่เห็นชอบที่จะให้นายพิธา เป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้วันต่อมา พรรคก้าวไกล ได้ยื่นหนังสือถึงประธานสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.272 เพื่อทำการปิดสวิตช์ ส.ว.ในการเลือกนายก
วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 2 โดยมีวาระสำคัญ คือพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร เป็นข้อถกเถียงกันตั้งแต่เช้าถึงเรื่อง การเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในการโหวตนายกรัฐมนตรีรอบที่ 2 นั้น ถือเป็น ‘ญัตติซ้ำ’ หรือไม่ กระทั่งเวลา 11.50 น. ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ รับคำร้อง กกต.ที่ขอให้วินิจฉัยสมาชิกภาพ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคก้าวไกล กรณีถูกร้องถือหุ้นสื่อ ITV พร้อมมีมติเสียงข้างมาก 7 ต่อ 2 คำสั่งให้ นายพิธา ในฐานะผู้ถูกร้อง หยุดปฏิบัติหน้าที่ สส. ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค.จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย
ทำให้ในเวลา 14.45 น. นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้ใช้สิทธิ์อภิปรายระบุถึง เอกสารจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้นายพิธาหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.ชั่วคราว ก่อนจะอำลาและเดินออกจากที่ประชุม
ท้ายที่สุดข้อสรุปที่ประชุมในเวลา 16.50 น. นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา แจ้งให้ที่ประชุมลงมติตีความข้อบังคับรัฐสภา ข้อที่ 41 ว่า การเสนอชื่อนายพิธา เพื่อให้พิจารณาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ถือเป็นการนำญัตติที่ตกไปแล้วมาพิจารณาหรือไม่ หรือเสนอชื่อนายพิธาซ้ำไม่ได้ โดยที่ประชุมรัฐสภา มีมติ 395 เสียง ต่อ 312 เสียง งดออกเสียง 8 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง เห็นว่า การเสนอชื่อ นายพิธา เป็นการเสนอญัตติซ้ำ ส่งผลให้การเสนอชื่อ นายพิธาซ้ำอีกครั้ง ไม่สามารถทำได้ ก่อนจะสั่งปิดประชุมคำพูดจาก PG SLOT สล็อตเว็บตรง
การจัดตั้งรัฐบาล ส่อแววมาถึงทางตัน ก้าวไกล อาจชวดตั้งรัฐบาล 21 กรกฎาคม นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล แถลงข่าวหลังพรรคก้าวไกล หารือกับพรรคเพื่อไทย โดยเผยว่าจากนี้พรรคก้าวไกล จะส่งไม้ต่อให้กับพรรคอันดับที่ 2 นั้น คือพรรคเพื่อไทย เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล กับอีก 8 พรรคร่วมโดยพรรคก้าวไกล จะเป็นผู้เสนอชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย ในการประชุมรัฐสภาครั้งหน้า เป็นผลให้หลายพรรคหันมาดันหลัง พรรคเพื่อไทย แต่ส่วนมากกล่าวว่าจะไม่ร่วมรัฐบาลด้วยหากยังมีก้าวไกลอยู่ อาทิ พรรคพลังประชารัฐ พรรคภูมิใจไทย พรรครวมใจสร้างชาติ และพรรคก้าวไกลเองยังคงยืนยันหากเพื่อไทย ดึงพรรคสองลุงร่วม ก้าวไกลจะไม่ข้ออยู่ด้วย นำไปสู่การที่พรรคเพื่อไทยและพรรคก้าวไกล แยกกันจัดตั้งรัฐบาล
วันที่ 15 สิงหาคม 2566 พรรคก้าวไกลได้มีมติหลังการประชุมว่าส.ส. ของพรรคก้าวไกลจะไม่โหวตให้แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลผสมข้ามขั้ว โดยแสดงจุดยืนว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมการจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้ ซึ่งไม่ได้พิจารณาบนพื้นฐานของสมบัติของตัวแคนดิเดตจากพรรคเพื่อไทย แต่การตัดสินใจจากที่ให้คำมั่นสัญญากับประชาชนว่ามีเราไม่มีลุงมีลุงไม่มีเราตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง
ต่อมาวันที่ 21 สิงหาคม 2566 พรรคก้าวไกลมีมติหลังประชุมส.ส. โหวตเห็นชอบแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทยที่มาจากพรรคร่วมรัฐบาลผสมข้ามขั้ว
วันที่ 22 สิงหาคม 2566 หลังจากการประชุมรัฐสภาวาระพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 3 มีมติเห็นชอบให้นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สาม 30 ทางนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้โพสต์ข้อความบน Facebook ส่วนตัว โดยมีเนื้อความ เกี่ยวกับก้าวไกลจะยังคงเป็นตัวแทนของพลังใหม่เป็นความหวังของประชาชน และจะทำงานเต็มที่เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของประชาชน และจะไม่มีวันทรยศหักหลังต่อความไว้วางใจของประชาชน
แม้แต่เก้าอี้ประธานสภา ก้าวไกลไม่มีโอกาสแม้แต่เป็นผู้นำฝ่ายค้าน ตามกฎหมายในรัฐธรรมนูญ มาตรา 106 ระบุว่า ตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้าน จะเป็นของ หัวหน้าพรรคการเมืองที่มี สส.มากที่สุด และ สส.ไม่ได้เป็นรัฐมนตรี รวมไปถึงห้ามมี ส.ส.เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
วันที่ 15 กันยายน 2566 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งเพื่อเปิดทางให้พรรค ก้าวไกลได้รับตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้านในสภา จากกรณีที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดให้ผู้นำฝ่ายค้านจำเป็นต้องส.ส.ที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านอันดับหนึ่ง และปัจจุบันนายพิธา ยังอยู่ในภายใต้คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญที่ให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ส.ส. และไม่สามารถเข้าไปทำงานในสภาผู้แทนราษฎรได้
วันที่ 24 กันยายน 2566 ณ สนามกีฬาเวสน์ 1 สนามกีฬาไทยญี่ปุ่น-ดินแดง พรรคก้าวไกล ได้จัดกิจกรรม “ก้าวต่อไป ก้าวใหญ่ทั้งแผ่นดิน” เป็นกิจกรรมเปิดตัว นายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกลคนใหม่ รวมถึง นายพริษฐ์ วัชรสินธุ โฆษกของพรรคก้าวไกล และได้ทำการบรรยายยุทธศาสตร์ก้าวไกลก่อนถึงวันเข้าทำเนียบโดยมีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นประธานที่ปรึกษา หัวหน้าพรรคก้าวไกล
ย้อนกลับไปดู ก้าวไกล ทำอะไรบ้างช่วงที่มีการจัดตั้งรัฐบาล แม้ยังไม่ได้ทำงานในฐานะรัฐบาล
วันที่ 26 พฤษภาคม 2566 นาย วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ออกมาแฉ เรื่องส่วยรถบรรทุก ผ่านเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า Wiroj Lakkhanaadisorn นำไปสู่การตรวจสอบข้อเท็จจริง รวมไปถึงเกิดคำสั่งเด้งผู้บังคับการตำรวจทางหลวง
วันที่ 29 พฤษภาคม 2566 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร่วมแคมเปญ The Road to Bangkok Pride 2023 ณ สกายวอล์กหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ได้ประกาศ “วันนี้เรามาร่วมมือร่วมใจระหว่างรัฐบาลชุดใหม่กับทางกรุงเทพมหานคร นำกิจกรรมระดับโลก World Pride มาจัดที่กรุงเทพมหานครในปี 2028 ต่อจากซิดนีย์, วอชิงตัน ดีซี และอัมสเตอร์ดัม ให้จงได้”พร้อมทั้งจะร่างกฎหมายเกี่ยวกับประเด็นความเท่าเทียมทางเพศ อย่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม และ กฎหมายรับรองอัตลักษณ์ทางเพศเสนอเข้าสภาทันที
รวมถึงประเด็นเรื่องค่าแรง 450 บาทที่เป็นหนึ่งในนโยบายหาเสียงของพรรคก้าวไกล กำลังเป็นประเด็นในภาคเอกชนเช่นกัน โดยทางฝั่งเอกชนต่างกังวลถึงผลเสียที่จะตามมาภายหลัง และจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาพรวม ด้านนายพิธา ได้ออกมาระบุว่า พอมีการเปลี่ยนแปลงก็จะมีคนที่ได้แล้วมีคนที่เสียเช่นกัน
กฟภ.ขายพันธบัตร 3 พันล้านบาท ดอกเบี้ย 3.84% ต่อปี จ่ายทุก 6 เดือน
ตำรวจไล่เก็บภาพวงจรปิด เตรียมออกหมายเรียก "สมรักษ์ คำสิงห์" พบพนักงานสอบสวน
หมอทหารคลั่ง ! ใช้อาวุธปืนยิงขู่ในหมู่บ้านย่านสมุทรปราการ