กลายเป็นเรื่องที่คนในโลกออนไลน์ให้ความสนใจ หลังปรากฎภาพพะยูนที่ผอมโซ ปรากฎในโซเชียลมีเดีย
โดยเพจ “ขยะมรสุม” ได้โพสต์ภาพพะยูนที่เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง อยู่ในสภาพผอม พร้อมข้อความระบุว่า “พะยูนผอมมาก ท่าเรือบ้านพร้าว เกาะลิบง ไม่มีใครสนใจ รอให้ตายหมดก่อนเหรอ หญ้าก็หาย ตะกอนจากการก่อสร้างก็ไม่มีใครทำอะไร บอกใครก็ไม่สนใจ มาร่วมกันช่วยหน่อยได้เปล่า หลายเดือนแล้วไม่บูมเลย พะยูนตายทุกคนก็เฉยๆ สภาพแย่ลงไปทุกวัน หญ้าเหลือน้อยแล้วนะ ขอความสนใจหน่อย ปีนี้ตายไปหลายตัวแล้ว”คำพูดจาก เว็บตรง
17 สิงหาคม “วันอนุรักษ์พะยูนแห่งชาติ” ครบรอบ 4 ปีการจากไปของมาเรียม-ยามีล
โดรนดู “พะยูน” ของชุมชนเกาะลิบง คว้ารางวัลจากสหประชาชาติ
ทั้งนี้ภายหลังจากภาพพะยูนผอมโซถูกเผยแพร่ออกไป มีชาวเน็ตเข้ามาแสดงคมเห็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเข้ามาแก้ปัญหา พร้อมตรวจสอบเร่งด่วน ก่อนที่พะยูนไทยจะล้มหายไปมากกว่านี้
ด้าน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ชี้แจงว่า ทางเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งแล้ว และทางกรมทรัพยากรทางทะเลฯ ขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะนี้เจ้าหน้าที่และสัตวแพทย์ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง
ได้เดินทางไปรับซาก พะยูนที่เกยตื้นบริเวณเกาะลิบง เพื่อนำกลับมาชันสูตร หาสาเหตุการตาย อย่างไรก็ตาม ในปี 2567 จังหวัดตรังพบพะยูนเกยตื้นแล้ว 3 ตัว
ทั้งนี้ ผลการตรวจสอบซากพะยูน เบื้องต้น พบว่าเป็นพะยูนเพศผู้ โตเต็มวัย ความยาวลำตัววัดแนบ 265 ซม. ความสมบูรณ์ของร่างกายอยู่ในเกณฑ์ผอม สภาพซากสด ภายนอกพบลักษณะแผลหลุมลึกยาว 7.5 x 4 ซม. บริเวณข้างลำตัวด้านบนครีบข้างซ้าย
เปิดผ่าดูอวัยวะภายใน พบก้อนลิ่มเลือดสีขาวอยู่ในหัวใจห้องบนขวา ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นหลังจากการตายและมีเลือดคั่งในหัวใจ บริเวณส่วนของทางเดินหายใจ พบฟองอากาศภายในหลอดลมและเนื้อเยื่อปอด คาดว่าเกิดจากการสำลักน้ำ บริเวณม้ามพบจุดเลือดออกกระจายเป็นหย่อม พบปื้นเลือดออกและเลือดคั่งที่เนื้อเยื่อไต ส่วนทางเดินอาหารพบเศษหญ้าทะเลเล็กน้อยและพยาธิตัวกลมจำนวนมาก
บริเวณลำไส้พบก้อนเนื้อขนาด 2 x 1 ซม. และก้อนหนองขนาด 1 x 1 ซม. และพยาธิใบไม้เล็กน้อย ตับอ่อนพบลักษณะบวมน้ำและมีเลือดคั่ง และพบเศษเชือกไนล่อนในกระเพาะอาหาร ซึ่งไม่ใช่สาเหตุการตาย ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้เก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการต่อไป
ส่วนปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม กรมทรัพยากรทางทะเลฯ ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ปัญหา ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านหญ้าทะเล สัตว์ทะเลหายาก ด้านสมุทรศาสตร์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัย ตัวแทนกลุ่มเครือข่ายในพื้นที่
คณะดังกล่าวได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล รวมทั้งได้พูดคุยกับชาวบ้านและชาวประมงที่ได้รับผลกระทบ เมื่อวันที่ 16-18 ก.พ.ที่ผ่านมา รวมทั้งวางแผนลงพื้นที่อีกครั้งในวันที่ 10-16 มี.ค.นี้ เพื่อหาสาเหตุหญ้าทะเลเสื่อมโทรม ก่อนจะนำมาออกมาตรการแก้ไขหรือฟื้นฟูหญ้าทะเลโดยเร็ว