เปิดมาปีใหม่ 2567 สิ่งแรกที่รัฐบาล “เศรษฐา” จะถูกถามมากสุดคงหนีไม่พ้นเรื่องปัญหาปากท้อง อย่างนโยบาย “แจกเงินดิจิทัล” เนื่องจากนโยบายดังกล่าวต้องดำเนินการภายในปี 2567 ในมุมมองของ สว. ที่มองเรื่องนี้ อย่าง “สว.สมชาย แสวงการ” มองว่า รัฐบาลไปมุ่งเน้นเรื่องเดียวคือ ดิจิทัลวอลเล็ต 5 แสนกว่าล้าน ที่จะเกิดปัญหาหนี้สินระยะยาว
“7 วันอันตรายปีใหม่ 2567” วันที่ 4 รวมเสียชีวิตเกือบ 200 ราย
รวบ 2 วินซัดต่างชาติช่วงเคานต์ดาวน์พัทยา อ้างมีปากเสียงเรื่องที่จอดรถ
โดยเห็นว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจมีหลายวิธี เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การสร้างนวัตกรรมพัฒนาคน สร้างเทคโนโลยีดิจิตอล สร้างเม็ดเงินกระจายสู่ชนบทดีกว่าการแจกเงิน
สิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้ตอบโจทย์เรื่องการหาเสียง แต่ไม่ได้แก้โครงสร้างพื้นฐาน เช่น เรื่องลดค่าไฟ , ค่าน้ำมัน, ค่าแก๊สธรรมชาติ เป็นการนำภาษีของประเทศไปลดให้กับผู้ใช้บริการให้ราคาลดลง แต่ยังไม่ได้ปรับปรุงเรื่องโครงสร้างของพลังงาน ทำให้ยังไม่เห็นผลในการแก้ปัญหาระยะยาว รัฐบาลมัวแต่หมกมุ่นกับดิจิทัลวอลเล็ต จนลืมที่จะแก้ไขปัญหาอื่น
ในมุมการฟื้นเศรษฐกิจ สว.สมชาย มองว่า รัฐบาลเศรษฐาโชคดีที่เข้ามาหลังการฟื้นฟูประเทศ 9 ปีของรัฐบาลประยุทธ์ เป็นจังหวะที่ดีที่ควรต่อยอด หากมุ่งผิดจุดการกระตุ้นเศรษฐกิจได้เฉพาะคราวในปี 67 แต่ปี 68 เพราะจะเห็นหนี้ที่สร้างภาระระยะยาว คิดว่าประเทศไทยไม่ได้มีปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ แต่มีปัญหาเรื่องศักยภาพทางเศรษฐกิจ ขาดสกิลของคน มีค่าแรงสูงแต่สกิลน้อยไป การพัฒนาประเทศให้หลุดพ้นจากประเทศที่กำลังพัฒนาต้องสร้างสกิลด้วยการทำวิจัยพัฒนา ซึ่งเราให้งบหรือให้ความสำคัญเรื่องนี้น้อยมาก อยากให้รัฐบาลเศรษฐาไปต่อยอด โดยเฉพาะเรื่องการสอบของเด็ก มุ่งเป้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสร้างสกิล สร้างให้คนมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น นวัตกรรมที่แข่งขันได้หลายๆเรื่องและเทคโนโลยี AI , EV และต้องไม่ทิ้งคนข้างล่างต้องสร้าง habitat เอาเงินไปช่วยก็สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้และไม่ต้องให้เป็นดิจิตอลแต่ให้เป็นเงินสดเลย และต้องดู SME ที่ผ่านมาเจอปัญหาอะไร รวมไปถึงการเกษตรเอานวัตกรรมเข้าไปช่วยและเนื่องจากกำลังขาดแรงงานเกษตร ให้นำเงินไปจ้างงานแรงงานในชนบทเกิดการหมุนทางเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายของรัฐบาลเศรษฐา ถ้าไม่เปลี่ยนเชื่อว่าปีหน้าจะไปลำบาก การได้รับความยอมรับในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจที่คนคาดหวังไปไม่ได้ บวกกับภาวะการเมืองที่รุมเร้า ไม่ว่าจะการพยายามเสนอ นิรโทษกรรมลุกลามไปถึงคดี 112 และการรื้อร่างรัฐธรรมนูญ จะนำไปสู่ความขัดแย้งนำไปสู่ความเห็นต่างของประชาชน คือวิกฤติการเมืองที่จะเกิดขึ้น รวมถึงวันนี้มีคำถามในสังคมเรื่อง “ทักษิณ ชินวัตร” ควรเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริงไหม จะเดินในเรื่องของการรับโทษตรงไปตรงมาในระยะ 1 ปีหรือในระยะที่เหลืออยู่ แทนที่จะใช้ระเบียบใช้กฎกระทรวงไปเอื้อโดยลอดช่องกฎหมาย ก็จะนำไปสู่ความขัดแย้งอันเช่นกัน ทั้งหมดจะเห็นภาพว่าไม่ง่ายสำหรับรัฐบาลเศรษฐาในทางเศรษฐกิจและทางการเมืองในปีต่อไป
และในมุมมองของ “สว.กิตติศักดิ์ รัตนวราหะ” มองว่า น่าจะมีปัญหาใหญ่ๆ เข้ามา เสถียรภาพของรัฐบาลจะสั่นคลอนค่อนข้างจะแน่นอน ประเด็นที่รัฐบาลหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือ “ทักษิณ” ประเด็นนี้จะพาสถานการณ์ของรัฐบาลเศรษฐาย่ำแย่ และถ้าหากว่าคิดในทางร้ายคิดว่ารัฐบาลเศรษฐา จะถูกกระแสของนายทักษิณพารัฐบาลไปไม่รอด และในฐานะประชาชน อยากจะบอกว่า รัฐบาลไม่มีใครล้มได้นอกจากรัฐบาลล้มตัวเอง เช่น การออกกฎหมายนิรโทษกรรม แก้ไขรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน ประเทศชาติ หรือการทุจริต เห็นแล้วว่าการแจกเงินดิจิตอลคนละ 10,000 มันมีปัญหาแน่ ดังนั้นอยากจะฝากรัฐบาลไว้ว่า ถ้าหากรัฐบาลปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รัฐบาลก็สามารถที่จะอยู่ต่อไปได้
“หากว่าเมื่อใดรัฐบาลโดยเฉพาะรัฐบาลคุณเศรษฐา ผมคิดว่าสถานการณ์ขณะนี้ พี่น้องประชาชนทั่วไปก็คิดเหมือนคล้ายๆผม คุณเศรษฐานั้นเป็นตัวรับคำสั่ง รับบทบาทหน้าที่เท่านั้นหรือเปล่า เพราะฉะนั้นเนี่ย ต้องดูว่าคุณเศรษฐานั้นปฏิบัติด้วยสติปัญญาความสามารถด้วยตนเอง หรือว่ามีสิ่งอื่นที่แปลกปลอมสั่งให้คุณเศรษฐาปฏิบัติหน้าที่ตาม และก็โดยเฉพาะที่เห็นเป็นสิ่งที่กระแสสังคมในขณะนี้จับจ้องเป็นพิเศษก็คือ การที่คุณทักษิณไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เหมือนนักโทษอื่นๆ เพราะว่าคุณเศรษฐานั้นได้ถูกศาลพิพาทแล้วว่าเป็นนักโทษเด็ดขาด” สว.กิตติศักดิ์ กล่าว
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการที่ “เศรษฐา ทวีสิน” มานั่งเป็นนายกรัฐมนตรี ต่างเกิดคำถามมากมาย ว่าแท้จริงแล้วอาจเป็นแค่….. ผู้มาเปิดทางให้ “แพทองธาร ชินวัตร” หรือ “อุ๊งอิ๊งค์” ขึ้นสู่การเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อหรือไม่ หากเกิดเหตุสะดุดทางการเมือง
เรื่องนี้ สว.กิตติศักดิ์ มองว่า “รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลร่วม ผมคิดว่าการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีไม่ได้ง่าย และแน่นอนว่าถ้าหารัฐบาลนายเศรษฐามีอันเป็นไป อย่าลืมว่า สว. ยังมีหน้าที่และอำนาจตามมาตรา 272 ในการที่คัดเลือกนายกรัฐมนตรี เพราะฉะนั้นเนี่ยฝากตรงนี้เลยว่าถ้าจะเปลี่ยนเป็นใคร เป็นอุ๊งอิ๊งค์ หรือใครก็ตาม จะต้องผ่าน สว. ซึ่งขณะนี้ยังมีหน้าที่และอำนาจตามมาตรา 272 เต็ม 100%”
ด้าน สว.สมชาย มองว่า “ผมก็ว่ามีได้หมดนะ แต่ผมเห็นด้วยไม่เห็นด้วยอีกเรื่องนะ คือในบัญชีพรรคเพื่อไทยก็ยังมีคุณอุ๊งอิ๊งค์ คุณชัยเกษม ในบัญชีพรรคภูมิใจไทยก็ยังมีคุณอนุทิน ในบัญชีพลังประชารัฐก็ยังมีลุงป้อม ในบัญชีรวมไทยสร้างชาติก็ยังมีพลเอกประยุทธ์ แต่ว่าท่านก็ไปเป็นองคมนตรีแล้ว ในบัญชีก้าวไกลก็ยังมีคุณพิธา เพราะฉะนั้นถ้าเราจะพูดถึงการถ้าสภานี้ไม่ยุบก็ยังเดินในสภาแบบเดิม ดังนั้นสว.จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหลัง 11 พฤษภาในการโหวตแล้ว หรือจะช่วงไหนก็ตามมันก็สามารถเปลี่ยนได้ แต่ผมไม่ได้บอกว่าผมจะเห็นด้วยกับคุณอุ๊งอิ๊งหรือไม่ แต่ผมบอกว่ามีโอกาสที่จะเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีแต่จะเปลี่ยนเป็นใคร แล้วเปลี่ยนเป็นแล้วจะดีขึ้นหรือจะแย่ลงผมว่าสังคมก็ต้องช่วยกันคิดนะ แต่ผมคิดว่าโอกาสเปลี่ยนสูง”
ปี 2567 การเมืองไทยยังต้องจับตาเรื่องของ สว. ที่กำลังจะหมดวาระช่วงกลางปีนี้ โดยเรื่องนี้ “สว.สมชาย” มองว่า จะเกิดวิกฤติหลังจากที่การเลือกสว. ในระบบที่ฮั้วกันเอง พรรคการเมืองใหญ่เกือบทุกพรรคได้เตรียมระบบการจัดผู้เลือกที่จะมาฮั้วกันแล้ว สร้างผู้เลือกขึ้นมาเลือกแทนประชาชนในการส่งคนลงในแต่ละกลุ่มอาชีพ 20 กลุ่มและจัดระบบล็อคโหวตและฮั้วกัน ระบบที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญและพรบประกอบรัฐธรรมนูญยังป้องกันไม่ได้ ท้าทายมากว่าถ้าสว.ถูกฮั้วกันเข้ามาทั้ง 200 คน สภาที่เป็นนอมินีของพรรคการเมืองจะเกิดวิกฤติ
1. การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ใช้เงื่อนไขหนึ่งในสามของสว. ไม่ได้เป็นปัญหาในการมาช่วยทัดทาน จะกลายเป็นสภาพี่น้องสภาคู่กันหรือสภานอมินี
2. การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่บังคับไว้ว่าต้องมีหมวดการลงประชามติเช่นมาตรา 256 (8) บังคับว่าถ้าแก้หมวด 1, หมวด 2 หรือหมวดอื่นๆ ในการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องไปทำประชามติ อาจจะถูกแก้ไขโดยไม่ต้องทำประชามติ
3. ถ้าสภาไม่มีการตรวจสอบระหว่างสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา ซึ่งเป็นเหมือนสภาเงากัน บ้านเมืองก็จะนำไปสู่เผด็จการรัฐสภาและท้ายที่สุดก็อาจจะเกิดการกระทบกระเทือนต่อองค์กรต่างๆ ในประเทศ
ดังนั้น สว. ชุดใหม่ถ้าไม่คอนโทรลให้ดีในการเลือกและกกต. ไม่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบการสรรหาหรือการเลือกกันเองของสว. ให้บริสุทธิ์ยุติธรรมจริงๆ จะเกิดปัญหาในอนาคต
ในมุมมองของ 'สว.กิตติศักดิ์' มองว่า สว. ชุดนี้ตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญปี 60 จะต้องหมดวาระเดือนพฤษภาปีหน้า แต่ทั้งหมดนั้นการอยู่รอจนกว่าสว.คณะใหม่จะมา ได้รับการโปรดเกล้ามาปฏิบัติหน้าที่แล้วจะเป็นวันเดือนไหนก็ต้องรอดู แต่สำหรับส่วนตัวแน่นอนมาปฏิบัติหน้าที่ เมื่อหมดวาระครบเทอมแล้ว เสร็จสิ้นแล้วโดยไม่มีเรื่องอื่นมาเบี่ยงเบน ก็พร้อมที่จะหยุดปฏิบัติหน้าที่
สว.ควรมีต่อไปหรือไม่ ในมุมมองของ สว.สมชาย ยืนยันว่า ทั้งงานวิจัยดุษฎีนิพนธ์ของตน กับการสอบถามและการทำโฟกัสกรุ๊ปติดตามผู้ร่างร่างรัฐธรรมนูญตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 40, 50, 60 นักการเมืองทั้งเป็นอดีต ส.ส. , อดีตสวคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. เกือบทุกภาคส่วนเห็นตรงกันว่ายังมีความจำเป็น ที่ประเทศไทยควรใช้ระบบสองสภา เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลทำหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมาย ตรวจสอบซึ่งกันและกัน ระหว่างสภาที่มาจากการเลือกตั้งของผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภาที่ควรมีที่มาอีกแบบหนึ่ง ในการเป็นบัฟเฟอร์ระหว่างสภาผู้แทนกับสถาบันด้วยในการกลั่นกรองกฎหมายด้วย ในการดูแลเรื่องการใช้อำนาจและหน้าที่ขององค์กรอิสระด้วย
ในมุมมองของ 'สว.กิตติศักดิ์' มองว่า ถึงแม้ว่า สว.ชุดนี้จะหมดวาระในพฤษภาปีหน้า ก็ยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องมี สว. โดยเฉพาะตามรัฐธรรมนูญต้องมี เพราะว่าถ้าเลือกแต่ ส.ส. อย่างเดียวการออกกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นนิรโทษกรรม ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะทำกันได้ตามอำเภอใจ ไม่มีสว.คอยถ่วงดุลอำนาจ เห็นอย่างยิ่งว่าจะต้องมีสว.ไว้คู่กับประเทศไทย ส่วน สว.จะดีหรือไม่ดีอยู่ที่การคัดเลือกคนมาปฏิบัติหน้าที่
การทำงานของรัฐบาลเศรษฐา ยังเป็นที่น่าจับตามองในปี 2567 ในมุมของคนการเมือง ให้คะแนนเท่าไหร่นั้น อย่าง สว.สมชาย ว่าให้คะแนนเท่าไร เต็ม 10 ให้รัฐบาลผ่านแค่ 3 คะแนน ยังสอบตกอยู่
ขณะที่มุมของ สว.กิตติศักดิ์ มองว่าการปฏิบัติหน้าที่ 100 วัน “ผมให้ผลงานแค่ 30 วัน คือ 30% เท่านั้นครับหรือว่า 3 ใน 10% เท่านั้นครับ”